เพื่อให้เข้าบรรยากาศของไฮคลาสฉบับนี้ที่สัมภาษณ์บุคคลระดับ ‘ลูกผู้บริหาร หลานพ่อค้าวานิช’ จึงควรหยิบยกหัวข้อนี้มาสนทนากันสบายๆ ว่า ในทางธรรมนั้นควรเป็นเศรษฐีหรือไม่ และมีอะไรที่ยิ่งใหญ่กว่าการเป็นมหาเศรษฐีรึเปล่า น่าสนใจทีเดียว!
ย้อนไปในสมัยพุทธกาล มีฆราวาสผู้ร่ำรวยระดับมหาเศรษฐีอยู่หลายคน และบรรลุธรรมขั้นพระโสดาบัน แต่ที่เป็นเอกและได้รับการยกย่องอย่างสูง คือ อนาถบิณฑิกเศรษฐี ผู้เกิดในตระกูลมหาเศรษฐีในเมืองสาวัตถี มีทรัพย์สมบัติมากมายมหาศาล เดิมชื่อ ‘สุทัตตะ’ แต่ด้วยความเป็นคนใจบุญสุนทาน ตั้งโรงทานหน้าบ้านแจกอาหารแก่คนยากจนทุกวัน ประชาชนจึงเรียกท่านว่า ‘อนาถบิณฑิกะ’ หมายความว่า ‘ผู้มีก้อนข้าวเพื่อคนอนาถา’ และเรียกกันมาจนลืมชื่อเดิมไปเลย
ครั้งแรกที่อนาถบิณฑิกเศรษฐีได้ยินคำว่า ‘พระพุทธเจ้า’ จากเพื่อนมหาเศรษฐีเมืองราชคฤห์ ถึงกับต้องทวนคำว่า ‘พระพุทธเจ้า’ ถึงสามครั้ง และเกิดปีติศรัทธาอย่างแรงกล้า ...
ได้มีโอกาสประสบพบเจอหลายคนที่หลงคิดไปว่า หัวใจเราคือถังขยะ เพราะชอบหมักหมม สะสมสารพัดเรื่องราวแย่ๆ เอาไว้ในก้นบึ้งของหัวใจ ผมจึงคิดว่าข้อแนะนำในการแยกขยะออกจากหัวใจน่าจะเป็นประโยชน์สำหรับหลายๆ คน บางทีเป็นเพราะเราไม่ค่อยรู้ตัวหรอกว่าเราแอบทิ้งขยะลงไปในใจของเราเอง หรือมีใครทิ้งขยะลงมาในหัวใจของเราบ้าง ถ้าไม่หมั่นสำรวจ เผลอๆ ขยะอาจท่วมล้นหัวใจเราไปแล้วก็ได้ น่ากลัวจริงๆ ไม่ใช่เรื่องล้อเล่นเลย!
ลองมาสำรวจว่าอะไรบ้าง ที่เป็นขยะหัวใจ
แต่ก่อนจะสำรวจ ‘ประเภทขยะ’ ที่อยู่ในหัวใจเรา ผมขอขอบคุณทุกท่านที่ได้กรุณาส่งอีเมล์ฉบับนี้มาให้ ไม่ทราบว่าใครเป็นผู้เขียน แต่อ่านแล้วอดไม่ได้ที่จะนำมาเผยแพร่ต่อ ก็ต้องขอขอบคุณเอาไว้ ณ ที่นี้
เอาล่ะครับ ขยะหัวใจ ได้แก่....
1. ความไม่พอใจ
มีหลายเรื่องในชีวิตที่เราไม่พึงพอใจ ถ้าจะแบ่งให้กว้างที่สุดเพื่อให้เห็นภาพ สิ่งที่ทำให้เราไม่พอใจมีอยู่ ...
เมื่อไม่นานมานี้ ผมได้มีโอกาสดูละครโทรทัศน์เรื่องหนึ่งซึ่งกำลังเป็นที่นิยมและกล่าวขวัญถึงของใครหลายคน ตัวเอกมีรูปเป็นทรัพย์ หน้าตาสะสวยโดดเด่น แม้จะมีฐานะไม่ร่ำรวย แต่ก็พอมีพอกิน และที่สำคัญเธอมีแม่ที่รักลูกยิ่งกว่าชีวิต
ปมที่ทำให้เรื่องราวดำเนินไปก็คือ ความคิดของตัวเอกที่ว่าทำไมเธอถึงไม่ร่ำรวย ไม่เกิดมามีหน้ามีตาในวงสังคมชั้นสูงเหมือนคนอื่น พร้อมกับดูถูกในอาชีพของบุพการีผู้ให้กำเนิดซึ่งทำงานเป็นแม่บ้านและยามธรรมดา การกระทำทุกอย่างจึงถูกผลักดันด้วยความทะยานอยากไม่สิ้นสุด ทำให้จิตใจ “ร้อน” เหมือนมีไฟแผดเผาอยู่ตลอดเวลาและพาลลามไปเผาคนรอบตัว
นี่เป็นตัวอย่างหนึ่งของการใช้ชีวิตโดยประมาท ขาด “ธรรมะนำทาง” จนทำให้หลงวนเวียนอยู่ในเขาวงกตแห่งทุกข์ บางคนต้องทนทรมานอยู่อย่างนี้ไปทั้งชีวิตเหมือนเป็นโรคเรื้อรัง ไม่สามารถหาทางออกและค้นพบความสุขอันรื่นรมย์ที่แท้จริงในชีวิตได้
หลายคนอาจบอกว่า คนเราก็เป็นเพียงปุถุชนย่อมต้องมีรักโลภโกรธหลงบ้างเป็นธรรมดา ยังไม่ต้องพูดเรื่องบรรลุธรรมสูงสุดไปถึงขั้นนิพพาน แต่เรามาลองหยุดนิ่งใช้ความคิด ใช้สติ ใช้เหตุผลเป็นเครื่องชี้นำ ในยามที่ตกอยู่ในห้วงความทุกข์ ความเศร้า ความเสียใจกันดูบ้างดีหรือไม่ เพื่อให้ “รู้” เท่าทันการกระทำและอารมณ์ปัจจุบันของตัวเอง ...
อีกข้อความประทับใจ ที่ผมได้รับจากอีเมล ขออนุญาตมาแบ่งปันกับเพื่อนๆ
อ่านเถอะแล้วจะเข้าใจมันยิ่งใหญ่จริงๆ สำหรับเด็กอายุแค่ 9 ขวบเท่านั้น....
นี่คือจดหมายของ ฮา มินห์ ตัน เป็นตำรวจที่ฟูกุชิม่า เขาเป็นชาวเวียดนาม เขียนถึงเพื่อนที่เวียดนาม ถูกพิมพ์ลงในหนังสือพิมพ์ New America Midia เมื่อวันที่ 19 มีนาคม 2554 แสดงให้เห็นถึงหัวจิตหัวใจของชาวญี่ปุ่น เศษเสี้ยวของชีวิตกลางวิกฤติ ณ โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ ...
เคยสังเกตบ้างหรือไม่ว่า บ่อยครั้งสิ่งที่เราอยากได้กลับไม่ได้ แต่สิ่งที่ไม่อยากได้กลับได้มาอย่างง่ายดาย จนต้องหันกลับมาถามตัวเองบ่อยๆ ว่าทำไมโชคชะตาจึงเล่นตลกกับเราแบบนี้ ความจริงแล้วเรื่องความลับเหนือโลกเกี่ยวกับการสร้างความมั่งคั่งนั้นเป็นเรื่องที่ง่ายมาก เพียงพลิกวิถีความคิดเพียงนิดเดียว โอกาสในการประสบความสำเร็จนั้นอยู่ใกล้แค่เอื้อม!
ผมมีโอกาสเรียบเรียงหนังสือ สุดยอดเดอะซีเคร็ต (The Meta Secret) เขียนโดย ดร. เมล กิลล์ ผู้เหลือแขนขวาข้างเดียวจากการตกเขาและมีประสบการณ์ใกล้ตาย นอกจากเกือบเสียชีวิตแล้ว เขายังสูญเสียครอบครัว ธุรกิจ และเพื่อน แต่ปัจจุบัน ดร. เมล กิลล์เป็นหนึ่งในนักจิตวิทยาและนักบรรยายที่ได้การรับฉายาว่า นักพูดพันล้าน แถมยังเป็นที่ปรึกษาให้ซีอีโอขององค์กรยักษ์ใหญ่หลายแห่งทั่วโลก (ฟอร์จูน 500) ทั้งหมดนั้นเกิดจากความจริงที่เขาได้ไปสัมผัสในโลกอีกมิติที่ตัวเองก็ไม่เคยเชื่อมาก่อน ...
เมื่อต้นปีที่ผ่านมามีผลการวิจัยจากเอเยนซีโฆษณาถึง 10 เทรนด์ฮอตธุรกิจประจำปี 2554 ปรากฏว่ากระแสการทำความดีติดโผเป็นครั้งแรก ทั้งในรูปแบบของกิจกรรมเพื่อสังคม CSR เรื่องการทำ Social Business ธุรกิจเพื่อสังคม และการให้ความช่วยเหลือในหลากหลายรูปแบบ แสดงให้เห็นชัดเจนว่าโลกกำลังเคลื่อนไปในทิศทางของ Gen G หรือ Generation Giving อย่างเป็นรูปธรรม และน่ายินดียิ่งที่ได้เห็นทั้งระดับองค์กรและคนรุ่นใหม่กำลังให้ความสำคัญกับ ‘การให้’ ซึ่งสอดคล้องกับพระบรมราโชวาทพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวที่ทรงพระราชทานเป็นพรปีใหม่แก่คนไทยทุกคน
ล่าสุดสถาบันธุรกิจเพื่อสังคม (CSRI) อยู่ในระหว่างการร่าง CSR Guidelines เพื่อเป็นแนวทางสำหรับองค์กรต่างๆ ให้มีความชัดเจนในการขับเคลื่อนกิจกรรมดีๆ เพื่อสังคมอย่างเป็นรูปธรรม และที่ผมมีความปลื้มปีติยินดีเป็นอย่างยิ่ง ...
