รู้ทุกข์-สุขยิ่ง
พระอาจารย์สุรศักดิ์ เขมรังสี วัดมเหยงคณ์ ได้เมตตาแสดงธรรม ณ หอประชุมพุทธคยา เมื่อวันที่ 17 สิงหาคมที่ผ่านมา
ในหัวข้อ ‘รู้อย่างสันโดษ’ จึงขอนำความสรุปที่ถอดโดยน้องเอื้อย จิตรลดา คมคาย มาแบ่งปันให้กับทุกท่าน …
รู้ทุกข์ทำไมสุขยิ่ง รู้ทุกข์อย่างไรถึงจะเข้าสู่ความพ้นทุกข์ รู้ทุกข์อย่างไรถึงจะเข้าสู่ความสุขยิ่ง
(รู้ทุกข์เเล้วเข้านิพพานได้) / (รู้ทุกข์ด้วยการละเหตุให้เกิดทุกข์)
สุขยิ่งคืออะไร
(นิพพานัง ปรมัง สุขัง)
อะไรเป็นเหตุให้เกิดทุกข์
(ตัณหา ๓ คือ ความทะยานอยากในกาม ทะยานอยากในความมี-ความเป็น ทะยานอยากในความไม่มี-ความไม่เป็น)
อะไรเป็นตัวรู้ทุกข์
(มรรค เพราะเป็นข้อปฏิบัติให้เกิดความดับทุกข์ เป็นสิ่งที่ต้องทำให้เกิดขึ้น ทำให้เจริญขึ้น)
รู้ทุกข์อย่างไรจึงจะละเหตุให้เกิดทุกข์ได้
(รู้ทุกข์อย่างวางเฉย รู้ทุกข์อย่างสักเเต่ว่ารู้ รู้ทุกข์อย่างปล่อยวาง รู้ทุกข์อย่างไม่ยินดียินร้ายก็จะละตัณหาได้โดยเด็ดขาด เพราะฉะนั้น ในการปฏิบัติต้องรู้ทุกข์อย่างวางเฉย เพื่อละเหตุให้เกิดทุกข์)
การทำลายทุกข์ คืออยากให้ทุกข์หายไป อยากสุขให้ไม่มีทุกข์ เป็นการเจริญตัณหา
จุดอ่อนของนักปฏิบัติโดยทั่วๆไป มีการปฏิบัติด้วยความทะยานอยาก ด้วยการเจริญตัณหา ไม่ใช่เจริญมรรค อยากได้ อยากมี อยากสงบ
“ที่ทำเเล้วยาก เพราะความอยาก”
“ที่ทำเเล้วมันยุ่ง ก็เพราะความอยาก จึงกลายเป็นเรื่องยาก”
“ถ้าละความอยาก ก็ไม่ยาก หมดความยุ่ง”
ความดับทุกข์ ความพ้นทุกข์อย่างยิ่ง คือความสิ้นอยาก (นิพพาน = นิ [ออก]+ วารานะ [ เครื่องร้อยรัด ]) จะเข้าสู่ความสุขอย่างยิ่ง ต้องออกจากเครื่องร้อยรัด
มรรคที่ทำงาน – รู้ทุกข์อย่างถูกต้อง
– ไม่เข้าไปยินดี / ไม่เข้าไปยินร้าย
– เป็นการละตัณหา / ชำระตัณหาไปทีละขณะๆจนกว่าจะละโดยเด็ดขาด ก็จะเข้าถึงความดับทุกข์ได้ถาวร (บรมสุข = สุขอย่างยิ่ง)
อริยสัจ ๔ คือ ทุกข์ – กำหนดรู้ / สมุทัย – ละ / นิโรธ – ทำให้เเจ้ง / มรรค – ทำให้เจริญ
ทุกข์ – กำหนดรู้ ด้วยปริญญา ๓ คือ ญาตปริญญา (กำหนดรู้ขั้นรู้จัก) ตีรณปริญญา (กำหนดรู้ขั้นพิจารณา) ปหานปริญญา (กำหนดรู้ขั้นประหารสมุทัยได้)
“ปริญญาทางโลก จบกี่ใบๆก็ยังทุกข์อยู่”
“ชาติสิ้นแล้ว พรหมจรรย์อยู่จบแล้ว กิจที่ควรทำทำเสร็จแล้ว ไม่มี กิจอื่นเพื่อความเป็นอย่างนี้อีก” พระอรหันต์รู้สิ่งเหล่านี้ เปล่งสิ่งเหล่านี้
พรหมจรรย์ คือ การปฏิบัติเพื่อถึงที่สุดเเห่งทุกข์
“กิจอื่นๆ ไม่เทียบเท่ากิจในอริยสัจ”
“กิจอื่นๆไม่ได้ดับทุกข์ได้จริง”
“ได้เงิน ชื่อเสียง เกียรติยศ เป็นใหญ่เป็นโต เเต่ดับทุกข์ไม่ได้”
“มีชื่อเสียงไม่ดับทุกข์ได้ เเล้วเราจะเเสวงหาการงานใด
(ไม่มีกิจใดๆที่ควรทำเท่ากิจในอริยสัจ ๔ กิจในการรู้ทุกข์ ละสมุทัย เเจ้งนิโรธ เจริญมรรค เป็นกิจที่ควรทำ เพราะทำเเล้วดับทุกข์ได้โดยสิ้นเชิง กิจอื่นๆ งานอื่นๆ เป็นงานอดิเรก งานชีวิตที่สำคัญคืองานในอริยสัจ คือการปฏิบัติในอริยสัจ งานอื่นๆทำเพื่อพออยู่ พออาศัยให้อยู่ในโลกนี้ได้พอสมควร)”
งานอะไรที่ดับทุกข์ได้จริง?
(งานอริยสัจ)
สิ่งที่ปรารถนามีอะไรที่ยิ่งกว่าการดับทุกข์โดยสิ้นเชิงหรือไม่?
(ไม่มี)
”ถ้าเราดับทุกข์สิ้นเชิง คือ เราเข้าถึงที่สุดเเห่งความดีงามโดยสิ้นเชิง”
รู้ทุกข์ไปเห็นสภาพที่ทนอยู่ไม่ได้ อะไรบ้างที่เป็นทุกข์?
(รูปธรรม นามธรรม)
รู้ทุกข์ต้องให้เห็นรูปธรรม นามธรรมตามความเป็นจริง หรือ ขันธ์ ๕ (รูป เวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ) จะต้องทำความรู้จัก จะได้กำหนดรู้ถูก
รูปมีการเสื่อมสลายอยู่ ไม่สามารถรู้อารมณ์ได้ เช่น รูปตา หู จมูก ลิ้น กาย สี เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ เย็น ร้อน อ่อน เเข็ง หย่อน ตึง ต้องเข้าไปกำหนดรู้ ให้เห็นตามความเป็นจริงว่าไม่เที่ยง เกิดขึ้นเเล้วดับไป รูปนี้เป็นเพียงสภาพธรรม มีเหตุ รูปก็เกิด หมดเหตุ รูปก็ดับไป ไม่ใช่ตัวตนของเรา ไม่มีเราในรูป
กำหนดรูปทางตาเพียงสักเเต่ว่า เห็นสักเเต่ว่าเห็น ได้ยินสักเเต่ว่าได้ยิน รู้สักเเต่ว่ารู้ ทราบสักเเต่ว่าทราบ
ทราบหมายความว่าอย่างไร
(รู้กลิ่น รู้รส รู้สัมผัส)
ลำดับของการรู้ ๑.รู้จำ ๒.รู้จัก ๓.ไปเจอ ๔ รู้เเจ้ง ๕.พรหมจรรย์จบ
“ไม่จบ ก็ไปเจออยู่เสมอๆ”
“ขี้เกียจกำหนดดู ก็รู้เเจ้งไม่ได้ ต้องมีความเพียรมากขึ้น ต้องปรารภความเพียร เมื่อเพียรไปเพียรมา เพียรมากขึ้นๆ ความขี้เกียจจะหายไปด้วยความเพลิน เกิดธาตุขยันขึ้นมา ใคร่ต่อการปฏิบัติขึ้นมาเอง”
“กิเลสมารจะคอยขวางไว้ ราคะ โทสะ ปฏิฆะ หงุดหงิด สงสัย ผู้ที่จะผ่านได้ต้องเด็ดเดี่ยว เเน่วเเน่ ตั้งอกตั้งใจ การปฏิบัติอย่างนี้เท่านั้นจึงจะพ้นทุกข์ ไม่มีทางซื้อขายกันได้ จะไปจ้างใครปฏิบัติเเทนก็ไม่ได้ อัตตาหิ อัตตาโน นาโถ – ตนเเลเป็นที่พึ่งเเห่งตน โกหิ นาโถ ปโร สิยา – คนอื่นใครเล่าจะเป็นที่พึ่งเเก่เราได้ ฟังเขาเล่า อ่านตำรา ก็ไม่ซึ้งกิเลสได้ ต้องเห็นเอง เพราะฉะนั้น ต้องกำหนดรู้ทุกข์ คือรุปธรรม นามธรรมที่กำลังปรากฏในปัจจุบัน”
นามธรรม ๔ อย่าง คือเวทนา สัญญา สังขาร วิญญาณ
“กำหนดรู้ทุกข์ ต้องสักเเต่ว่า = ละตัณหาไปในตัว”
“เราต้องทำคะเเนนไปเรื่อยๆ ขยันทำบ่อยๆ ทำเรื่อยๆ อย่าคิดไปน๊อคกิเลสทีเดียว (เปรียบเหมือนนักมวยขึ้นชก)” เราต้อง
๑. รู้ให้ตรงสภาวะ – รูปนามจริงๆที่ปรากฏตามลักษณะเขา
๒. ให้เป็นปัจจุบัน – มาเเล้วๆำไป ปล่อยวาง วางเฉย รู้สักเเต่ว่ารู้ ไม่ทะยานอยากในสิิ่งเหล่านั้น
๓. ปล่อยวาง วางเฉย วางใจให้ถูก รู้ตรงเเล้วถึงรู้เป็น
รู้ตรงคือ ตรงต่อสภาวะ
รู้ไม่ตรงคือ ไปบัญญัติชื่อภาษา ความหมาย คอยจะมีภาษาพูดในใจเรื่อยๆ
“สิ่งที่ดับไปเเล้ว ผ่านไปเเล้ว มันจะมองไม่เห็น ถ้าเราไปสนใจมองสิ่งที่ผ่านไปเเล้ว ก็ทำให้มองไม่เห็นสิ่งที่อยู่ตรงหน้าในปัจจุบัน”
เปรียบเหมือนคนเดินผ่านหน้าต่างบ้านเรา ถ้าเราไปตามดูคนที่ผ่านไป เราก็จะไม่เห็น เขาหายไปเเล้ว ขณะเดียวกัน ก็จะมองไม่เห็นคนที่กำลังอยู่ตรงหน้า
“เมื่อเราไปดูบ่อยๆจะเห็นสภาวะ ลักษณะรุปนามตามความเป็นจริง รู้หรือไม่รู้? ก็เปลี่้ยนเเปลงเกิดดับ สิ่งใดเกิดขึ้นเป็นธรรมดา ย่อมดับไปเป็นธรรมดา ”
สรุปกิจต่ออริยสัจ ๔
๑. รู้ทุกข์ – ใช้ปริญญากิจ (ญาตปริญญา ตีรณปริญญา)
๒. ละสมุทัย – ใช้ปหานกิจ
๓. เเจ้งนิโรธ – สัจฉิกริยากิจ
๔. เจริญมรรค – ภาวนากิจ
ขอให้ทุกๆท่านเจริญในธรรมยิ่งๆขึ้นไป
_/|\_
|
กำลังเรียนเรื่องแก่นของพุทธศาสนา เกี่ยวกับเรื่องพอดีเลย ขอบคุณค่ะ
ขอขอบคุณมากครับ สำหรับข้อความธรรมะนี้ ผมถูกใจและจะใช้ศึกษา ปฏิบัติ ต่อไป ครับ