
อุโบสถศีล คือการรักษาศีล ๘ ข้อ
วันอุโบสถหรือวันพระนั้น เป็นวันที่เราจะต้องอยู่เยี่ยงพระ
คือบำเพ็ญเนกขัมมะนั่นเอง
ศีลแปดที่รักษากันในวันพระ เรียกว่า อุโบสถศีล
ผู้ครองเรือนทั่วไปไม่สะดวกถือศีล ๘ ได้ทุกวัน
ก็จะหาโอกาสมาถือศีลกันเฉพาะวันพระ
จึงเรียกว่ารักษาอุโบสถศีล
ความเหมือนและความแตกต่าง ระหว่างอุโบสถศีลกับศีล 8 อุโบสถศีล กับ ศีล 8 มีข้อห้าม 8 ข้อเหมือนกันคำอาราธนา (ขอศีล) แตกต่างกันอุโบสถศีล มีวันพระเป็นแดนเกิด สมาทานรักษาได้เฉพาะวันพระเท่านั้น ส่วนศีล 8 สมาทานรักษาได้ทุกวันอุโบสถศีล มีอายุ 24 ชั่วโมง (วันหนึ่งคืนหนึ่ง) ส่วนศีล 8 ไม่มีกำหนดอายุในการรักษาอุโบสถศีล เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ครองเรือน หรือเป็นศีลของชาวบ้านผู้บริโภคกาม (กามโภคี) ส่วนศีล 8 เป็นศีลสำหรับชาวบ้านผู้ไม่ครองเรือน เช่น แม่ชี [1]
คำอาราธนานอุโบสถศีล (คนเดียว)
อะหังภันเต ติสะระเณนะะสะหะ
อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถังยาจามิ
ทุติยัมปิ อะหังภันเต ติสะระเณนะะสะหะ
อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถังยาจามิ
ตะติยัมปิ อะหังภันเต ติสะระเณนะะสะหะ
อัฎฐังคะสะมันนาคะตัง อุโปสะถังยาจามิ
ข้าพเจ้าขอสมาทานอุโบสถศีล
อันประกอบด้วยองค์ 8 ประการ
ที่พระพุทธเจ้าทรงบัญญัติไว้
จะถือไว้มิให้เสื่อมมิให้ทำลาย สิ้นวันหนึ่งกับคืนหนึ่ง ณ เวลานี้
จะต้องรักษา นับจากที่เราสมาทานไปจนถึงรุ่งเช้าของวันใหม่ ที่มีแสงสว่างของธรรมชาติ จนสามารถมองเห็นลายมือของตนเองได้ ก็จะหมดไปโดยอัตโนมัติ
ศีลอุโบสถนั้น
มีองค์ประกอบทั้งหมด ๘ ข้อ
ถ้าขาดไปข้อใดข้อหนึ่ง
ก็ไม่เรียกว่าศีลอุโบสถ
ตามพุทธบัญญัติ เพราะฉะนั้น
การล่วงศีลอุโบสถเพียงข้อใดข้อเดียว
ก็ถือว่าขาดศีลอุโบสถ พูดง่ายๆ ว่า
ขาดศีลข้อเดียวก็ขาดศีลอุโบสถ
ผู้ที่รักษาอุโบสถศีล
จึงต้องสำรวมระวัง เป็นพิเศษ
การอดอาหารหลังเที่ยง
ควรรับประทานช่วง 11 โมง ให้เต็มที่เลย
หากรู้สึกหิวในช่วงเย็น สามารถดื่มน้ำปานะ
น้ำผลไม้ที่ผลไม้ใหญ่กว่ากำมือได้
ให้งดดื่มโอวัลติน โกโก้ นมถั่วเหลือง นมวัว
หรือ น้ำเต้าหู้ ถือว่าเป็นอาหาร
อุโบสถศีลประกอบด้วยองค์ ๘ มีดังนี้ คือ
๑. ปาณาติปาตา เวระมะณี
งดเว้นจากการทำชีวิตสัตว์ให้ตกล่วงไป
งดเว้นจากการเบียดเบียนสัตว์
๒. อทินนาทานา เวระมะณี
งดเว้นจากการถือเอาของที่เจ้าของมิได้ให้
๓. อพรหมจริยา เวระมะณี
งดเว้นจากกรรมอันเป็นข้าศึก
ต่อการประพฤติผิดพรหมจรรย์
(การร่วมประเวณีรวมถึงการทำ Masturbation)
๔. มุสาวาทา เวระมะณี
งดเว้นจากการกล่าวเท็จ รวมถึงวจีกรรมในรูปแบบต่างๆ คือ เว้นการพูดส่อเสียด นินทาว่าร้าย
๕. สุราเมรยะมัชชะปะมาทัฏฐานา เวระมะณี งดเว้น จากการดื่มสุราและเมรัย อันเป็นที่ตั้งแห่งความประมาท
๖. วิกาละโภชนา เวระมะณี
งดเว้นจากการบริโภค อาหารในเวลาวิกาล คือหลังเที่ยงวันเป็นต้นไป
๗. นัจจะคีตะวาทิตะวิสูกะทัสสะนา มาลาคันธะวิเลปะนะ-ธาระณะมัณฑะนะวิภูสะนัฏฐานา เวระมะณี
งดเว้นจากการฟ้อน รำ ขับร้อง ประโคมดนตรี และดูการละเล่นอันเป็นข้าศึกต่อกุศล
ลูบทาทัดทรงประดับตกแต่งร่างกายด้วยพวงดอกไม้ของหอม เครื่องย้อม เครื่องทาอันจัดว่าเป็นการแต่งตัว
๘. อุจจาสะยะนะมหาสะยะนา เวระมะณี ฃ งดเว้นจากการนั่ง และการนอนบนที่นอนสูงใหญ่ อันยัดด้วยนุ่นและสำลี(สูงใหญ่ หมายถึง เมื่อนั่งแล้วหย่อนขาลงไม่ถึงพื้น)
เป้าหมายหลักในการรักษาอุโบสถศีลนั้นก็ เพื่อทำให้จิตใจสงบ
ไม่กวัดแกว่งฟุ้งซ่านไปในเรื่องกามารมณ์แต่ยึดเอาพระนิพพานเป็นอารมณ์
ถือ เป็นการประพฤติพรหมจรรย์ของคฤหัสถ์ ผู้ที่ยังไม่ปรารถนาออกบวช
โดยปกติวันพระ พุทธศาสนิกชน ที่สะดวกก็จะพากันแต่งชุดขาวไปสมาทานอุโบสถศีล และฟังธรรมที่วัด แล้วพักอาศัยอยู่ที่วัด จนกว่าจะครบกำหนด
ถ้าไม่ได้ไปวัด ก็จะตั้งใจสมาทานศีล ด้วยตนเองที่บ้าน
พระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสอุปมาถึงอานิสงส์ ของการรักษาอุโบสถศีลไว้ว่า
ถ้าจะนำมาเปรียบกับสมบัติของพระราชา
ที่แม้จะครองความเป็นใหญ่ถึง ๑๖ แคว้น
ก็ยังไม่ถึงเสี้ยวของผลบุญ
อันเกิดจากการรักษาอุโบสถเลย
เพราะสมบัติมนุษย์เป็นสมบัติหยาบ
เหมือนสมบัติของคนกำพร้า
มีความสุขได้ไม่กี่ร้อยปีก็ต้องพลัดพราก
นั่นคืออยู่บนโลกมนุษย์ไม่กี่ปีก็ตาย
ซึ่งเทียบไม่ได้กับการได้เสวยทิพยสมบัติ
อันยาวนานในสวรรค์
ที่เกิดจากอานิสงส์ของการรักษาอุโบสถ
การรักษาอุโบสถศีลนี้
แม้ว่าจะมีโอกาสรักษาได้ไม่นาน
แต่กลับสามารถส่งผล
ให้มีอานิสงส์มากมายเกินควรเกินคาดได้
ช่องทางติดตาม Danai Chanchaochai
Facebook: https://web.facebook.com/danai.chanchaochai
Youtube: https://www.youtube.com/channel/UCi2G57nvN5mpyXgap8RIOqg
Twitter: https://twitter.com/dc_danai
Instagram: https://www.instagram.com/dcdanai
Blog: https://dc-danai.com/