
“SOD เอ็นไซม์ยืดอายุมนุษย์” นวัตกรรมแห่งมวลมนุษยชาติ
องค์การสหประชาชาติ ให้นิยามผู้สูงอายุ หมายถึงประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ
ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ และระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ
ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ถูกระบุว่าก้าวสู่ประเทศสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ตั้งแต่ปี 2549 หรือประมาณ 11 ปีที่ผ่านมา เรียกว่าเร็วกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก ตามมาด้วย อิตาลี เยอรมัน และสวีเดน
สำหรับประเทศในอาเซียน เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนประชากรในกลุ่มอายุต่างๆ ซึ่งทุกประเทศมีแนวโน้มของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยขณะนี้ประเทศสิงคโปร์และไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ทั้งนี้ ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 และกระทรวงสาธารณสุขได้ระบุว่า ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ภายในปี 2568
นั่นหมายความว่า ตลาดในส่วนของผู้สูงอายุนับวันจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศต่างๆ ในอาเซียน และประเทศพัฒนาแล้ว ยิ่งในยุคนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์สูงขึ้น กอร์ปกับผู้คนให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ล้วนส่งผลให้คนเรามีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น “นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ” จึงเป็นสิ่งที่หลายประเทศให้ความสำคัญ
วันก่อนได้อ่านข้อเขียนของ รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่ได้ไปดูงานผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพเพื่อสังคมผู้สูงอายุที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งล้วนแต่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ และนำนวัตกรรมใหม่ในการผลิตอาหาร โดยนวัตกรรมนั้นสามารถช่วยรักษาทั้งสี กลิ่น และรสชาติของอาหารให้เหมือนเดิม ตลอดจนพัฒนารสชาติใหม่ๆ โดยมีระบบเซ็นเซอร์วัดรสชาติที่เลียนแบบลิ้นมนุษย์ แต่ขณะเดียวกันอาหารนั้นก็เหมาะกับสรีระ ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายของผู้สูงอายุด้วย นับว่าเป็นการบ้านใหญ่สำหรับ สกว.ในการผลักดันให้เกิดการวิจัยพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย รองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย
เมื่อถึงวันที่ประเทศเต็มไปด้วยผู้สูงอายุ จากที่เคยมีฟันเคี้ยวอาหารเหนียวๆ ได้สบาย จะมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวที่ลดลง ระบบการย่อยอาหารที่เคยย่อยง่ายก็มีประสิทธิภาพที่อ่อนด้อยลง ทำให้ผู้สูงวัยมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อบ่อยครั้ง ระบบขับถ่ายก็เช่นกัน “อาหารสำหรับผู้สูงอายุ” จึงถือเป็นโจทย์สำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมรองรับประชากรของประเทศ
การคิดค้นอาหารที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงวัย จึงเป็นหน้าที่ของนักโภชนาการทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการคิดค้นให้ได้อาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพของผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้อายุที่สมบูรณ์อย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม มีอีกประเด็นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน กล่าวคือ เรามีความเชื่อมานานแล้วว่า “เต่า” เป็นสิ่งมีชีวิตที่อายุยืนที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่เป็นเจ้าของสถิติชื่อ “แฮเรียน” อายุประมาณ 250 ปี แต่ล่าสุด คณะนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตที่มีอายุยืนแซงหน้าเต่าไปแล้ว นั่นคือ หอยตลับน้ำลึก “ocean quahog” หรือ หอยหมิง ที่ได้ชื่อนี้เพราะหอยเกิดปี ค.ศ.1499 ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์หมิงเรืองอำนาจ โดยหอยหมิงมีอายุยืนยาวถึง 507 ปี
คณะนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความลับของหอยที่มีอายุยืนได้มากขนาดนี้ มาจากเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า เอสโอดี (SOD) Superoxide dismutase ซึ่งเอสโอดีของหอยตลับน้ำลึกนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือลดปริมาณลงตลอดช่วงชีวิตหรืออายุขัยของมัน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ธรรมดาและเป็นเหตุผลว่าทำไมหอยตลับนี้ถึงได้เป็นสปีชีส์ที่มีอายุยืนยาว
นายแพทย์สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย เผยว่า การค้นพบเอ็นไซม์ เอสโอดี (SOD) หรือ Superoxide Dismutase คือการปฏิวัติโฉมหน้าของการดูแลสุขภาพในศตวรรษที่ 21 ความจริงเอ็นไซม์นี้มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งพืชและสัตว์ ในมนุษย์ก็มีเอ็นไซม์ชนิดนี้อยู่ในร่างกายของเราตั้งแต่แรกเกิด แต่จะมีปริมาณลดน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเรามีอายุ 25 ปีขึ้นไปและจะน้อยลงต่อเนื่องจนกระทั่งสิ้นอายุขัย
จุดนี้เองเมื่อเอ็นไซม์ เอสโอดี ลดลง ทำให้ประสิทธิภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระลดลง ส่งผลทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมลง อวัยวะภายในเสื่อมประสิทธิภาพเกิดโรคเสื่อมของร่างกาย (Degenerative disease) ขึ้น เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น รวมถึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทำให้เกิดโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยมากที่สุด นั่นก็คือ โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังส่งผลถึงภายนอกเช่นผิวหนัง เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ แลดูสูงกว่าวัย
นพ.สิทธวีร์ อธิบายเพิ่มเติมว่า อนุมูลอิสระมีหลากหลายชนิด บางชนิดทำลายในระดับเซลล์ บางชนิดทำลายลึกถึงระดับ DNA ภายในเซลล์ จนเกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์เป็นเนื้อร้ายและเซลล์มะเร็ง โดยอนุมูลอิสระที่ทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมลงมาจากหลายสาเหตุ ทั้งมลพิษต่างๆรอบตัวเรา สารปนเปื้อนในอาหารที่บริโภค รวมถึงความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ
เราทราบกันดีว่า สารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นต่อการชะลอความเสื่อมของร่างกายได้แก่ วิตามิน C วิตามิน E และที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลางเช่น CoQ10 แต่ที่มีประสิทธิภาพขั้นสูงสุดคือ เอ็นไซม์ เอสโอดี (SOD) โดยหลักการทำงานของเอนไซม์นี้ จัดอยู่ในกลุ่มของ Primary Antioxidant ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ลึกถึงระดับ DNA ภายในเซลล์ นับว่าเป็นการย้อนวัยเซลล์ในร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นมิติใหม่ในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและมีอายุที่ยืนยาวอีกด้วย
แล้วเราจะมีวิธีการเพิ่มเอ็นไซม์ เอสโอดี ในร่างกายให้มากขึ้นได้อย่างไร นพ.สิทธวีร์ กล่าวว่า ณ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สามารถสกัดเอ็นไซม์นี้ได้จากผักและผลไม้จากธรรมชาติ ร่วมกับการใช้โปรไบโอติกส์ (แบคทีเรีย) บ่มร่วมกันเป็นเวลา 180 วัน (Biosymbiotic Culture Technology) จนได้เอ็นไซม์ เอสโอดี (SOD) สารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบันนี้
มาคอยดูกันครับว่า การค้นพบเอสโอดี (SOD) รหัสลับยืดอายุ นี้จะเปลี่ยนชีวิตคนเราได้มากน้อยแค่ไหน
“SOD เอ็นไซม์ยืดอายุมนุษย์” นวัตกรรมแห่งมวลมนุษยชาติ
องค์การสหประชาชาติ ให้นิยามผู้สูงอายุ หมายถึงประชากรที่มีอายุมากกว่า 60 ปีขึ้นไป และแบ่งออกเป็น 3 ระดับ คือ ระดับการก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุ (Aging society) เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไปมากกว่าร้อยละ 10 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปีมากกว่าร้อยละ 7 ของประชากรทั้งประเทศ
ระดับสังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ (Aged society) เป็นสังคมที่มีประชากรอายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่าร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศหรือมีประชากรอายุตั้งแต่ 65 ปี มากกว่าร้อยละ 14 ของประชากรทั้งประเทศ และระดับสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ (Super-aged society) หมายถึงสังคมหรือประเทศที่มีประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไปมากกว่า ร้อยละ 20 ของประชากรทั้งประเทศ
ปัจจุบัน ประเทศต่างๆ กำลังก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยญี่ปุ่นเป็นประเทศที่ถูกระบุว่าก้าวสู่ประเทศสังคมผู้สูงอายุอย่างเต็มที่ตั้งแต่ปี 2549 หรือประมาณ 11 ปีที่ผ่านมา เรียกว่าเร็วกว่าประเทศอื่นๆ ในโลก ตามมาด้วย อิตาลี เยอรมัน และสวีเดน
สำหรับประเทศในอาเซียน เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงสัดส่วนประชากรในกลุ่มอายุต่างๆ ซึ่งทุกประเทศมีแนวโน้มของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ โดยขณะนี้ประเทศสิงคโปร์และไทยได้เข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแล้ว ทั้งนี้ ประเทศไทยก้าวสู่สังคมผู้สูงอายุตั้งแต่ปี 2548 และกระทรวงสาธารณสุขได้ระบุว่า ไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุโดยสมบูรณ์ ภายในปี 2568
นั่นหมายความว่า ตลาดในส่วนของผู้สูงอายุนับวันจะขยายตัวเพิ่มมากขึ้น ไม่เฉพาะแต่ในประเทศไทยเท่านั้น แต่รวมถึงประเทศต่างๆ ในอาเซียน และประเทศพัฒนาแล้ว ยิ่งในยุคนี้วิวัฒนาการทางการแพทย์สูงขึ้น กอร์ปกับผู้คนให้ความสนใจในการดูแลสุขภาพกันมากขึ้น ล้วนส่งผลให้คนเรามีอายุเฉลี่ยยืนยาวขึ้น “นวัตกรรมเพื่อผู้สูงอายุ” จึงเป็นสิ่งที่หลายประเทศให้ความสำคัญ
วันก่อนได้อ่านข้อเขียนของ รศ.ดร.พงศ์พันธ์ แก้วตาทิพย์ ผู้อำนวยการฝ่ายอุตสาหกรรม สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) ที่ได้ไปดูงานผลิตภัณฑ์อาหารสุขภาพเพื่อสังคมผู้สูงอายุที่ประเทศญี่ปุ่น ซึ่งล้วนแต่ใช้เครื่องจักรอัตโนมัติ และนำนวัตกรรมใหม่ในการผลิตอาหาร โดยนวัตกรรมนั้นสามารถช่วยรักษาทั้งสี กลิ่น และรสชาติของอาหารให้เหมือนเดิม ตลอดจนพัฒนารสชาติใหม่ๆ โดยมีระบบเซ็นเซอร์วัดรสชาติที่เลียนแบบลิ้นมนุษย์ แต่ขณะเดียวกันอาหารนั้นก็เหมาะกับสรีระ ระบบย่อยอาหาร และระบบขับถ่ายของผู้สูงอายุด้วย นับว่าเป็นการบ้านใหญ่สำหรับ สกว.ในการผลักดันให้เกิดการวิจัยพัฒนาอาหารเพื่อสุขภาพสำหรับผู้สูงวัย รองรับสังคมผู้สูงอายุของประเทศไทย
เมื่อถึงวันที่ประเทศเต็มไปด้วยผู้สูงอายุ จากที่เคยมีฟันเคี้ยวอาหารเหนียวๆ ได้สบาย จะมีประสิทธิภาพในการบดเคี้ยวที่ลดลง ระบบการย่อยอาหารที่เคยย่อยง่ายก็มีประสิทธิภาพที่อ่อนด้อยลง ทำให้ผู้สูงวัยมีอาการท้องอืดท้องเฟ้อบ่อยครั้ง ระบบขับถ่ายก็เช่นกัน “อาหารสำหรับผู้สูงอายุ” จึงถือเป็นโจทย์สำคัญสำหรับการเตรียมความพร้อมรองรับประชากรของประเทศ
การคิดค้นอาหารที่มีความเหมาะสมกับผู้สูงวัย จึงเป็นหน้าที่ของนักโภชนาการทั้งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องในการคิดค้นให้ได้อาหารที่เหมาะสมกับสุขภาพของผู้สูงวัย เพื่อรองรับสังคมผู้อายุที่สมบูรณ์อย่างยั่งยืน
อย่างไรก็ตาม มีอีกประเด็นที่น่าสนใจไม่แพ้กัน กล่าวคือ เรามีความเชื่อมานานแล้วว่า “เต่า” เป็นสิ่งมีชีวิตที่อายุยืนที่สุดในโลก ซึ่งตัวที่เป็นเจ้าของสถิติชื่อ “แฮเรียน” อายุประมาณ 250 ปี แต่ล่าสุด คณะนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสิ่งมีชีวิตที่มีอายุยืนแซงหน้าเต่าไปแล้ว นั่นคือ หอยตลับน้ำลึก “ocean quahog” หรือ หอยหมิง ที่ได้ชื่อนี้เพราะหอยเกิดปี ค.ศ.1499 ซึ่งเป็นช่วงที่ราชวงศ์หมิงเรืองอำนาจ โดยหอยหมิงมีอายุยืนยาวถึง 507 ปี
คณะนักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบความลับของหอยที่มีอายุยืนได้มากขนาดนี้ มาจากเอนไซม์ชนิดหนึ่งที่มีชื่อว่า เอสโอดี (SOD) Superoxide dismutase ซึ่งเอสโอดีของหอยตลับน้ำลึกนี้จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงหรือลดปริมาณลงตลอดช่วงชีวิตหรืออายุขัยของมัน ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่ไม่ธรรมดาและเป็นเหตุผลว่าทำไมหอยตลับนี้ถึงได้เป็นสปีชีส์ที่มีอายุยืนยาว
นายแพทย์สิทธวีร์ เกียรติชวนันต์ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์ชะลอวัย เผยว่า การค้นพบเอ็นไซม์ เอสโอดี (SOD) หรือ Superoxide Dismutase คือการปฏิวัติโฉมหน้าของการดูแลสุขภาพในศตวรรษที่ 21 ความจริงเอ็นไซม์นี้มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตทุกชนิดทั้งพืชและสัตว์ ในมนุษย์ก็มีเอ็นไซม์ชนิดนี้อยู่ในร่างกายของเราตั้งแต่แรกเกิด แต่จะมีปริมาณลดน้อยลงเรื่อยๆ เมื่อเรามีอายุ 25 ปีขึ้นไปและจะน้อยลงต่อเนื่องจนกระทั่งสิ้นอายุขัย
จุดนี้เองเมื่อเอ็นไซม์ เอสโอดี ลดลง ทำให้ประสิทธิภาพในการต่อต้านอนุมูลอิสระลดลง ส่งผลทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมลง อวัยวะภายในเสื่อมประสิทธิภาพเกิดโรคเสื่อมของร่างกาย (Degenerative disease) ขึ้น เช่นโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง โรคหัวใจ โรคไต เป็นต้น รวมถึงส่งผลให้ระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายลดลง ทำให้เกิดโรคร้ายแรงที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตของคนไทยมากที่สุด นั่นก็คือ โรคมะเร็ง นอกจากนี้ยังส่งผลถึงภายนอกเช่นผิวหนัง เกิดริ้วรอยเหี่ยวย่น เกิดฝ้า กระ จุดด่างดำ แลดูสูงกว่าวัย
นพ.สิทธวีร์ อธิบายเพิ่มเติมว่า อนุมูลอิสระมีหลากหลายชนิด บางชนิดทำลายในระดับเซลล์ บางชนิดทำลายลึกถึงระดับ DNA ภายในเซลล์ จนเกิดการกลายพันธุ์ของเซลล์เป็นเนื้อร้ายและเซลล์มะเร็ง โดยอนุมูลอิสระที่ทำให้เซลล์ในร่างกายเสื่อมลงมาจากหลายสาเหตุ ทั้งมลพิษต่างๆรอบตัวเรา สารปนเปื้อนในอาหารที่บริโภค รวมถึงความเครียดและการพักผ่อนไม่เพียงพอ
เราทราบกันดีว่า สารต้านอนุมูลอิสระที่จำเป็นต่อการชะลอความเสื่อมของร่างกายได้แก่ วิตามิน C วิตามิน E และที่มีประสิทธิภาพอยู่ในระดับปานกลางเช่น CoQ10 แต่ที่มีประสิทธิภาพขั้นสูงสุดคือ เอ็นไซม์ เอสโอดี (SOD) โดยหลักการทำงานของเอนไซม์นี้ จัดอยู่ในกลุ่มของ Primary Antioxidant ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงที่สุดในการต่อต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งสามารถต้านอนุมูลอิสระได้ลึกถึงระดับ DNA ภายในเซลล์ นับว่าเป็นการย้อนวัยเซลล์ในร่างกายให้มีสุขภาพแข็งแรงและเป็นมิติใหม่ในการดูแลสุขภาพให้แข็งแรงและมีอายุที่ยืนยาวอีกด้วย
แล้วเราจะมีวิธีการเพิ่มเอ็นไซม์ เอสโอดี ในร่างกายให้มากขึ้นได้อย่างไร นพ.สิทธวีร์ กล่าวว่า ณ ปัจจุบัน นักวิทยาศาสตร์สามารถสกัดเอ็นไซม์นี้ได้จากผักและผลไม้จากธรรมชาติ ร่วมกับการใช้โปรไบโอติกส์ (แบคทีเรีย) บ่มร่วมกันเป็นเวลา 180 วัน (Biosymbiotic Culture Technology) จนได้เอ็นไซม์ เอสโอดี (SOD) สารสกัดจากธรรมชาติที่มีฤทธิ์ต่อต้านอนุมูลอิสระที่มีประสิทธิภาพสูงที่สุดในปัจจุบันนี้
มาคอยดูกันครับว่า การค้นพบเอสโอดี (SOD) รหัสลับยืดอายุ นี้จะเปลี่ยนชีวิตคนเราได้มากน้อยแค่ไหน